Oil-Free Screw Compressors

เครื่องอัดลมแบบ OIL-FREE ขนาดเล็ก – กลาง

Small-Medium Oil-Free Screw Compressor - Efficient and Compact Air Compression Solution

Emeraude FE Series

22 kw (3.8 m³ / min) – 55 kw (8.1 m³ / min)

Download Catalogue

เครื่องอัดลมแบบ OIL-FREE ขนาดกลาง-ใหญ่

Emeraude ALE Series

45 kw (6.9 m³ / min) – 400 kw (66.8 m³ / min)

Download Catalogue

เครื่องอัดลม Oil Free Screw Compressor คืออะไร?

เครื่องอัดลมแบบไร้น้ำมัน คือ เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมที่ไม่ใช้น้ำมันในการหล่อลื่น ทำให้ระบบภายในการบีบอัดลม ไม่มีน้ำมันเจือปน เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ต้องการความสะอาดบริสุทธิ์ของลมในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยา อาหาร และอิเล็กทรอนิกส์

หลักการทำงานของเครื่องอัดลมแบบ Oil-Free Screw Compressor

ลมเข้าผ่านเครื่องอัดลมผ่านวาล์วเหมือนเครื่องอัดลมแบบมีน้ำมัน ผ่านการบีบอัดลมจากชุดสกรูชั้นแรก และลมจะถูกส่งให้ไประบายความร้อนผ่าน Inter Cooler เนื่องจากไม่มีน้ำมันช่วยลดความร้อนในระบบ
ลมจะผ่านชุดสกรูชุดที่ 2 (ซึ่ง Oil-Flooded มีเพียงแค่ชุดเดียว)
น้ำมันในระบบ Oil Free จะไม่ได้ผ่านระบบสกรู แต่จะช่วยระบายความร้อนเคสซิ่ง หรือแบริ่ง หัวและท้ายสกรู ทำให้น้ำมันไม่มาเจือปนกับลม
เครื่องอัดลมแบบไร้น้ำมัน ชุดสกรูจะได้รับการเคลือบเทฟลอน จึงไม่ต้องใช้น้ำมัน แต่ข้อเสียคือ สารเคลือบจะหลุดลอกตามระยะเวลาการใช้งาน จึงต้องมีการเปลี่ยนสกรูตามรอบบำรุงรักษา

วิธีการบำรุงรักษาเครื่องอัดลมแบบ Oil-Free Screw Compressor

การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ล้างน้ำ เป่าฝุ่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับความสะอาดของบริเวณที่ตั้งเครื่องอัดลม

ควรบำรุงรักษาตามรอบเมื่อถึงรอบชั่วโมงและรอบปี เพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น , Oil Filter (อุปกรณ์กรองน้ำมัน), Suction Filter (ไส้กรองอากาศ), Oil Seperator (อุปกรณ์กรองน้ำมันละเอียด), เช็ควาล์ว, Bearings (ชุดแบริ่งหรือลูกปืน) และอุปกรณ์อื่นๆ เมื่อถึงรอบบำรุงรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่ได้วางแผนไว้ หากไม่บำรุงรักษาตามรอบ (หากไม่บำรุงรักษาตามรอบ อาจเกิดกรณี ลูกปืนแบริ่งแตก ขดลวดไหม้ ชุดสกรูล็อค เกียร์รูดได้)

  • การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ล้างน้ำ เป่าฝุ่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับความสะอาดของบริเวณที่ตั้งเครื่องอัดลม
  • ควรบำรุงรักษาตามรอบเมื่อถึงรอบชั่วโมงและรอบปี เพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น , Oil Filter (อุปกรณ์กรองน้ำมัน), Suction Filter (ไส้กรองอากาศ), Oil Seperator (อุปกรณ์กรองน้ำมันละเอียด), เช็ควาล์ว, Bearings (ชุดแบริ่งหรือลูกปืน)  และอุปกรณ์อื่นๆ เมื่อถึงรอบบำรุงรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่ได้วางแผนไว้ หากไม่บำรุงรักษาตามรอบ (หากไม่บำรุงรักษาตามรอบ อาจเกิดกรณี ลูกปืนแบริ่งแตก ขดลวดไหม้ ชุดสกรูล็อค เกียร์รูดได้)
  • ตรวจสอบรอยรั่ว แรงสั่นที่ผิดปกติหรือเสียงที่ดังผิดปกติ เพื่อให้เครื่องอัดลมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีลมรั่ว ช่วยประหยัดค่าไฟ